พื้นฐานทางสิ่งแวดล้อมและ
การจัดการทรัพยากร
ควาหมายและขอบเขตของ
การศึกษาสิ่งแวดล้อม
การพัฒนาแนวความคิดเกี่ยวกับ
สิ่งแวดล้อมของมนุษย์
แนวทางและหลักการพัฒนา
ทางสิ่งแวดล้อม
องค์ประกอบที่สำคัญของ
การพัฒนาที่ยั่งยืน
หลักการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมกับ
คุณภาพชีวิต
 
กระบวนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์
- ลำดับขั้นของกระบวนการ
การศึกษานอกสถานที่
การใช้สื่อต่าง ๆ
การจัดกิจกรรมพิเศษ
การจัดโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
การสำรวจ วิเคราะห์ และทำรายงาน
ปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน
ตัวอย่างการใช้และการจัดการ
สิ่งแวดล้อมในประเทศ
ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับ
สิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
 
 
   
   
   
   
   
 
 

 

 

   
   
 
   
   
   
 

1.1.1 ความหมายและขอบเขตของวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

            คําว่า "วิทยาศาสตรสิ่งแวดล้อม" (Environmental science) มาจากคําศัพท์ 2 คํา คือ วิทยาศาสตร์(science) มีรากศัพท์เดิมมาจากภาษาลาตินว่า scientia หมายถึง การเรียนรู้ (learning) หรือ การศึกษา (knowing) (Loretta
M. Bierer and Violetta F. Lien 1985: 2) กับสิ่งแวดล้อม ( Environment) ซึ่งตามพระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ได้ให้ความหมายของสิ่งแวดล้อมไว้ว่าสิ่งแวดล้อม หมายความถึงสิ่งต่าง ๆที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้น
โดยธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์ได้ทำขึ้น ส่วนนักบริหารวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมได้ให้ความหมาย
"สิ่งแวดล้อมว่า หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา"เป็นคํานิยามที่เข้าใจง่าย เพราะชี้ให้เห็นว่า บรรดาสรรพสิ่ง
ทั้งหลายที่อยู่รอบๆ ตัวเป็นสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต หรือสิ่งที่เห็นได้ด้วยตาแล ะสิ่งที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาหรือสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นล้วนเป็นสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น
แต่การตีความหมายจากคํานิยามนี้อาจจะไขว้เขวในบางครั้ง กล่าวคือ คําว่า "สิ่ง" นั้นน่าจะเป็นสิ่งที่เห็นได้ด้วยตา มีลักษณะหน้าตาที่แสดงว่าเป็นสิ่งอะไรก็ได้ ด้วยข้อเท็จจริงแล้วคําว่า "สิ่ง" ในที่นี้อาจจะเป็นได้ทุกรูปแบบ เป็นทั้งของแข็ง ของเหลว ก๊าซ มีรูป อรูป วัฒนธรรม ศาสนา ประเพณี ฯลฯ
            มีอีกคําหนึ่งที่ต้องทําความเข้าใจคือ "รอบตัวเรา" คําว่า "ตัวเรา" ส่วนใหญ่แล้วเข้าใจว่าตัวเรา เป็นมนุษย์
เท่านั้น ซึ่งก็เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนทางวิชาการ โดยข้อเท็จจริงแล้ว ตัวเราอาจเป็นป่าไม้ ถ้ากล่าวถึง
สิ่งแวดล้อมป่าไม้ ตัวเราอาจเป็นดิน ถ้ากล่าวถึงสิ่งแวดล้อมดิน อาจเป็นแม่น้ำ ถ้ากล่าวถึงสิ่งแวดล้อมแม่น้ำ
อาจเป็นต้นไม้ หรือสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งก็ได้ ถ้ากล่าวถึงสิ่งแวดล้อมของต้นไม้หรือสัตว์นั้นๆ อาจเป็นแม่น้ำ เป็นต้น
            สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรามิได้มีขอบเขตจํากัด อาจใกล้หรือไกลก็ได้ อาจใกล้ขนาดชิดตัวเรา หรือ
อาจไกลสุดขอบฟ้า สัมผัสกับตัวเราหรือไม่สัมผัสกับตัวเรา อาจมีทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดีมีพิษ หรือ ไม่มีพิษ มีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าตัวเรามีภาวะอะไรแวดล้อมอยู่ ดังนั้นสิ่งแวดล้อม
จึงหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างบนพื้นโลก (อาจรวมทั้งจักรวาล) เป็นทั้งของแข็ง ของเหลว ก๊าซ (ทั้งเป็นพิษและไม่เป็นพิษ) สารเคมี (ทั้งเป็นพิษและไม่เป็นพิษ) สภาวะทางฟิสิกส์ (เสียง ความสั่นสะเทือน แสง ความร้อน) ต้นไม้ สัตว์ มนุษย์ ดิน หิน แร่ อากาศ วัตถุธาตุ สิ่งก่อสร้าง บ้านเรือน ถนน โรงเรียน วัด เมือง ชุมชน วัฒนธรรม ศาสนา ประเพณี กฎระเบียบ ข้อบังคับ ฯลฯ หรือกล่าวอีกอีกนัยหนึ่งได้ว่า สิ่งแวดล้อม อาจเป็นสิ่งที่ให้คุณหรือโทษแก่มนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เป็นสิ่งซึ่งสามารถสัมผัสด้วยอาการทั้งห้าได้หรืออาจเป็นทรัพยากรธรรมชาติหรือไม่ใช่ทรัพยากรธรรมชาติก็ได้

    

 สิ่งแวดล้อมอาจเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ (Natural environment) เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า น้ำ ดิน อากาศ มนุษย์ แร่ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมเหล่านี้ก็คือทรัพยากรธรรมชาตินั่นเอง เพราะ ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural resource) นั้น
หมายถึง "สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและให้ประโยชน์ต่อมนุษย์" สิ่งแวดล้อมอีกประเภทหนึ่งเป็นสิ่งแวดล้อม
ที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-madeenvironment) ได้แก่ บ้านเรือน เมือง ถนน วัฒนธรรม ศาสนา ประเพณี เสื้อผ้า ฯลฯ    
           นักวิชาการสิ่งแวดล้อมหลายท่าน ได้พยายามให้คําจํากัดความของคําว่า "สิ่งแวดล้อม" ไว้มากมาย แต่โดยเหตุที่สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องกว้างขวาง จึงทําให้ คําจํากัดความและความหมายแตกต่างกันไปบ้าง อย่างไรก็ตามเพื่อให้เข้าใจเรื่องของสิ่งแวดล้อมทั่วไปเราอาจสรุปความหมายอย่างง่ายๆ ของสิ่งแวดล้อมได้ว่า "สิ่งแวดล้อมคือทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้นทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม มีชีวิต
และไม่มีชีวิต "
           เมื่อรวมคําว่าวิทยาศาสตร์กับสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกันเป็น ดร. เกษม จันทร์แก้ว (เกษม จันทร์แก้ว 2525: 16) ได้ให้ความหมายของวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมไว้ดังนี้ "วิทยาศาสตรสิ่งแวดล้อมหมายถึงการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพฤติกรรมของสิ่งแวดล้อมในเรื่องของ
ชนิด ปริมาณ และสัดส่วนการอยู่ร่วมกันภายในระบบสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ"
           หากสรุปความหมายของวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมจากรากศัพท์ พอที่จะสรุปได้ว่า วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมคือการศึกษาเรื่องราวของสิ่งต่าง ๆที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นสิ่งที่เป็นรูปธรรม
และนามธรรมสิ่งที่เห็นได้ด้วยตาและที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา สิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ตลอดจนสิ่งที่ให้คุณและให้โทษ