พื้นฐานทางสิ่งแวดล้อมและ
การจัดการทรัพยากร
ควาหมายและขอบเขตของ
การศึกษาสิ่งแวดล้อม
การพัฒนาแนวความคิดเกี่ยวกับ
สิ่งแวดล้อมของมนุษย์
แนวทางและหลักการพัฒนา
ทางสิ่งแวดล้อม
องค์ประกอบที่สำคัญของ
การพัฒนาที่ยั่งยืน
หลักการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมกับ
คุณภาพชีวิต
 
กระบวนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์
- ลำดับขั้นของกระบวนการ
การศึกษานอกสถานที่
การใช้สื่อต่าง ๆ
การจัดกิจกรรมพิเศษ
การจัดโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
การสำรวจ วิเคราะห์ และทำรายงาน
ปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน
ตัวอย่างการใช้และการจัดการ
สิ่งแวดล้อมในประเทศ
ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับ
สิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
 
 
   
   
   
   
   
 
   
   
   
 
   
   
   
 

              แนวทางและหลักการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ควรยึดหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable develpoement)
               องค์การสหประชาชาติโดยคณะกรรมธิการโลกฯ ได้ให้คําจํากัดความคําว่า การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable development)ไว้ดังนี้ (พระธรรมป.ฏก, 2539: 59) "Sustainable development is development that meets the need of the present without compromissing the ability of future generations to meet their own needs" แปลว่า การพัฒนาที่ยั่งยืน
คือการพัฒนาที่สนองความต้องการของปัจจุบัน โดยไม่ทําให้ประชาชนรุ่นต่อไปในอนาคตต้องประนีประนอมยอมลดความสามารถของเขาในการที่จะสนองความต้องการของเขาเอง
               หนังสือ Globle Ecology Handbook ให้ความหมาย "การพัฒนาที่ยั่งยืน คือนโยบายที่สนองความต้องการของประชาชนในปัจจุบันโดยไม่ทําลายทรัพยากรซึ่งจะเป็นที่ต้องการในอนาคต"
               ปรีชา สุวรรณพินิจ (ปรีชา สุวรรณพินิจ, 2537: 231) ให้ความหมาย "การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable
development) คือการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ ี่ไม่บั่นทอนศักยภาพ
ในการพัฒนาสังคมในอนาคต ทั้งเป็นการพัฒนาที่จะส่ง ผลต่อมนุษย์ได้อย่างถาวรและมั่นคง โดยมุ่งใช้
ทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาด ถูกต้องตามหลักวิชาการโดยมีการบํารุงรักษาและใช้ในอัตราที่จะเกิดการทดแทน
ได้ทันอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้มีทรัพยากรใช้ในอนาคต รวมทั้งเสริมสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพชีวิต
ที่ดีของประชากรและการพัฒนานั้นต้องคํานึงถึงความเสียหายของสิ่งแวดล้อม และป้องกันปัญหาความ
เสื่อมโทรมที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อม"
               ดังนั้นพอที่จะสรุปความหมายได้ว่า    การพัฒนาที่ยั่งยืน คือ การพัฒนาที่สนองความต้องการ
ของประชาชนในปัจจุบันโดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นที่ต้องการของประชาชนในอนาคต

               การพัฒนาที่ยั่งยืนเกิดขึ้นเนื่องจากองค์การสหประชาชาติ ได้จัดให้มีการประชุมสุดยอดที่ใหญ่ที่สุด
เท่าที่เคยมีมาของผู้นําระดับโลกเมื่อเดือนมิถุนายน 2535 ที่เมืองรีโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "Earth Summit" ผลจากการประชุมครั้งนี้ได้มีการร่วมกันกําหนดแผนปฎิบัติการ 21 (Agenda 21) ซึ่งถือเป็นแผนปฎิบัติการ
ของโลกในศตวรรษที่ 21 (ค.ศ. 2001-2100) ส่วนที่สําคัญที่สุดของแผนปฎิบัติการนี้คือ
              "การพัฒนาที่ยั่งยืน"  ซึ่งมีสาระสําคัญดังนี้
                    1. การพัฒนาเศรษฐกิจจะต้องผสานควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านอื่นและสิ่งแวดล้อม
                    2. การใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือย การสูญพันธุ์ของพันธุ์พืชและสัตว์ การปล่อยของเสียและมลพิษต่าง ๆ                       เป็นสาเหตุทําให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมไม่ยั่งยืนเป็นการทําลายสุขภาพและความปกติสุขของมนุษย์
                      และสิ่งมีชีวิตในโลก
                    3. ต้องมีการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะมีผลกระทบเฉียบพลันต่อสุขภาพ อาจเสียคุณภาพชีวิต
                       และมีผลกระทบระยะยาวต่อประชากรรุ่นหลาน ซึ่งคาดว่าจะเลวร้ายรุนแรงมากขึ้น
                    4. มนุษย์ทุกคนร่ำรวยหรือยากจนมีสิทธิ์เท่าเทียมกันในอันที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ดื่มน้ำสะอาด
                        หายใจอากาศบริสุทธิ์และควบคุมการใช้ทรัพยากรของตนเองได้