สาเหตุและผลกระทบของมลพิษทางรังสี
สาเหตุของมลพิษทางรังสี

ปัจจุบันได้มีการนําสารกัมมันตภาพรังสีมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ การอุตสาหกรรม พลัง งาน และอาวุธ ซึ่งบางครั้งก็อาจก่อให้เกิดโทษได้ ดังตัวอย่าง การระเบิดของโรงไฟฟ้าที่ใช้ พลังงาน นิวเคลียร์ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1986 ที่เมืองเชอร์โนบิล ประเทศสหภาพโซเวียต ก่อให้เกิดความ เสียหายแก่ทรัพย์สินและชีวิต บางคนเสียชีวิตทันที บางคนได้รับบาดเจ็บจากการรับ สารกัมมันตรังสี มากบ้างน้อยบ้าง สารกัมมันตภาพรังสีที่นํามาใช้กันในขณะนี้ เช่น สตรอนเทียม –90 (90 Sr) และ ซีเซียม –137 (137 Ce)
สตรอนเทียม –90 เป็นสารที่มีคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์คล้ายแคลเซียม และมีวัฏจักรควบ คู่กันไปกับแคลเซียม สตรอนเทียม –90 และซีเซียม –137 ซึ่งเป็นผลพลอยได็จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ได้ เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีอยู่ตามธรรมชาติตั้งแต่ปี ค.ศ. 1963 เมื่อเริ่มมีการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ใน บรรยากาศ แม้ว่าปัจจุบันจะมีการห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์ในบรรยากาศแล้วก็ตาม แต่บางประเทศ เช่น ฝรั่งเศส ก็ยังดึงดันทดลองเมื่อปี ค.ศ. 1968 ที่หมู่เกาะบิกินีในมหาสมุทร แปซิฟิกตอนใต้โดยผ่านเข้าและสะสมในห่วงโซ่อาหารเช่นเดียวกับการสะสมของดีดีที จากการศึกษา ในสหราชอาณาจักรพบว่า สตรอนเทียม –90 สะสมอยู่ในหญ้าถึง 21 เท่าของที่สะสมอยู่ ในดิน และสะสมในแกะถึง 700 เท่าของที่สะสมอยู่ในหญ้า สตรอนเทียม –90 ถ้าไปตกในที่ไกล เช่น เขตทุน ดรา ก็สามารถดูดซึมโดยไลเคน ซึ่งส่งต่อไปทางห่วงโซ่อาหารถึงกวางคาริบูและ เรนเดียร์ เมื่อ มนุษย์กินเนื้อหรือนมของสัตว์เหล่านี้ก็จะสะสมสตรอนเทียม –90 ไว้ในกระดูก ในส่วนอื่นของ โลก สตรอนเทียม –90 ก็ถูกดูดซึมโดยหญ้าแล้วสะสมอยู่ในปศุสัตว์ ดังนั้นก็สามารถเข้าสู่มนุษย์ได้ใน ทํานองเดียวกัน (ทบวงมหาวิทยาลัย. 2530 : 748-749)

 

 

 

 


 

 

 

สาเหตุและผลกระทบของมลพิษทางอาหาร ความร้อน เสียงและรังสี