4.1.2 สาเหตุและผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมมีอยู่มากมาย แต่ที่สําคัญมี 2 ประการ คือ
1. การเพิ่มของประชากร (Population Growth) โดยเฉลี่ยประชากรทั่วโลกมีแนวโน้มสูงมาก ขึ้น ถึงแม้ว่าการรณรงค์เรื่องการวางแผนครอบครัวจะได้ผลดี แต่ปริมาณการเพิ่มของประชากรก็ยัง เป็นการเติบโตแบบเอกซ์โพเนนเชียล (Exponential Growth) ซึ่งเป็นการเพิ่มในอัตราทวีคูณ เมื่อผู้คน มากขึ้นความต้องการบริโภคทรัพยากรก็เพิ่มมากขึ้นทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน ฯลฯ
จากการคาดคะเนการเพิ่มจํานวนประชากรโลกซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (ดูข้อมูลในภาพที่ 4-1)
ทําให้ความต้องการปัจจัยต่าง ๆ เพื่อการดํารงชีวิตเพิ่มตาม คาดว่า ปัญหาต่าง ๆ จะตามมาอย่างรวด เร็วอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ปัญหาที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค สวัสดิการอื่น ๆ การ ประกอบอาชีพ ฯลฯ ปรากฏการณ์เช่นนี้เป็นเรื่องที่น่าวิตกยิ่งสําหรับประเทศที่ประชากรมี แนวโน้มเพิ่มสูงมาก จึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาทางลดความตึงเครียดลงก่อนที่จะถึงซึ่ง ภาวะวิกฤติในอนาคต

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


2. การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี (Economic Growth & Technological Progress) การขยายตัวทางเศรษฐกิจทําให้มาตรฐานในการดํารงชีวิตสูงตามไปด้วย มี การบริโภคทรัพยากรธรรมชาติเกินความจําเป็นขั้นพื้นฐานของชีวิต จึงจําเป็นต้องใช้ พลังงานมาก ขึ้ นตามไปด้วย ในขณะเดี ยวกั นความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ก็ ช่วยเสริมให้ การนํา ทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ทําได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น นอกจากนี้การเพิ่มของประชากรอย่างรวดเร็ว มีผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนอาหาร ที่ อยู่อาศัย การสาธารณสุข การศึกษา การว่างงาน ฯลฯ ปํญหาเหล่านี้พบมากในประเทศด้อยพัฒนา ประเทศเหล่านี้จําเป็นต้องเร่งพัฒนาด้วยการเร่งการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรกรรมและการ อุตสาหกรรมให้มากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีใหม่ ๆ จึงถูกนํามาใช้ในการเกษตรรวมทั้งปุ๋ยเคมี ยา ปราบศัตรูพืช ฯลฯ สารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมถูกปล่อยออกมาในรูปควันเสีย ฝุ่นละออง ทําให้ เกิดภาวะอากาศเป็นพิ ษ เสียงจากโรงงานอุตสาหกรรมเป็นสาเหตุหนึ่งของมลพิ ษทางเสียง ของเสีย จากโรงงานอุตสาหกรรมและจากเกษตรกรรมถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ ทําใหเกิดภาวะน้ำเป็นพิษ นอก จากนี้ทรัพยากรธรรมชาติยังถูกนํามาใช้อย่างรวดเร็วและมากมาย เป็นผลให้ สภาพแวดล้อม เปลี่ยนแปลงไป เช่น การทําลายป่า ทําให้ฝนไม่ตกตามฤดูกาล การทําลายหน้าดินทําให้เกิดปัญหาน้ำ ท่วม แร่ธาตุต่าง ๆ ถูกนํามาใช้เป็นจํานวนมหาศาล กระบวนการในการเปิดป่า ทําเหมือง และขั้น ตอนของการทําเหมือง ล้วนแล้วแต่มีสวนในการทําลายสภาวะแวดล้อมตาม ธรรมชาติอย่างน่าเสีย ดาย มนุษย์เป็นตัวการสําคัญในการเพิ่มพูนภาวะมลพิษให้แก่ระบบนิเวศ ความเจริญทาง เทคโนโลยียิ่งมีมากขึ้นเท่าไร ปัญหาการสร้างความสกปรกให้แก่สภาพแวดล้อมดูเหมือนจะยิ่งทวีมาก ขึ้นเท่านั้น นับตั้งแต่ยุโรปปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อคริตส์ศตวรรษที่ 18 โรงงานอุตสาหกรรมกลายเป็น แหล่งถ่ายเทและปล.อยของเสียให้แก่สภาพแวดล้อมเรื่อยมาและมากขึ้นเป็นลําดับ อาจกล่าวได้ว่า สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยจํากัดที่สําคัญของมนุษย์ เพราะเป์นตัวการทําลายมนุษย์ เอง ในประเทศที่พัฒนาแล้วสิ่งแวดล้อมที่ถือว่าอยู่ในสภาพที่เป์นพิษต่อประชากร มักเกิดจากสารเคมี อากาศเสีย และน้ำเป็นพิษ ส่วนปัญหาเดียวกันนี้ในประเทศด้อยพัฒนาเกิดเนื่องจากการขาดแคลน อาหารและทรัพยากรธรรมชาติ
จากสาเหตุของปัญหาดังกล่าวข้างต้น ทําให้เกิดผลกระทบต่อเนื่อง อันเกิดจากปัญหา สิ่งแวดล้อมที่สําคัญ 2 ประการ คือ (ดูภาพที่ 4-2 ประกอบ)
1. ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ เนื่องจากมีการใช้ทรัพยากรกันอย่างไม่ประหยัด อาทิ ป่า ไม่ถูกทําลาย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ การขาดแคลนน้ำ ฯลฯ
2. ภาวะมลพิษ (Pollution) เช.น มลพิษทางน้ำ อากาศ ดิน เสียง และความร้อน ฯลฯ อันเป็นผลมาจากการเร่งรัดการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมนั่นเอง

 

 

 

 

 

 


 

 

 


ดังนั้นจะเห็นได้ว่า สาเหตุของมลพิษเป็นผลจากการกระทําของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ เนื่อง จากมนุษย์ซึ่งเป์นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของธรรมชาติมีการเพิ่มจํานวนอย่างรวดเร็วและมนุษย์ มี บทบาทที่แตกต่างไปจากธรรมชาติอื่นในหลายกรณี กล่าวคือเมื่อประชากรมนุษย์เพิ่มมากขึ้น ความ ต้องการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติเพื่อใช้เป็นปัจจัยในการดํารงชีวิตและสร้างสิ่งอํานวย ความ สะดวกก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น มนุษย์มีความสามารถในการนําเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการต่าง ๆ ได้แก่ ทําการเกษตร การประมง สร้างเมือง สร้างเขื่อนขนาดใหญ่ สร้างโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อผลิตสิ่ง ต่าง ๆ เช่น รถยนต์ เครื่องบิน เรือ และอื่น ๆ อีกมากมาย ทําให้เกิดความไม่สมดุลในธรรมชาติ ก่อ ให้เกิดปัญหารุนแรงทางด้านสิ่งแวดล้อมและรวมเรียกปัญหาที่เกิดขึ้นว่า ปัญหามลพิษ ซึ่งมีหลาย ลักษณะหลายประเภท ล้วนแต่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตของมนุษย์ได้ ดังนั้นหากมนุษย์ไม่มีจิต สํานึกร่วมกันในการแก้ไขและรักษาสภาพแวดล้อมดังกล่าวแล้ว ย่อมเป็นเหตุให้มนุษย์เราต้อง ประสบปัญหาในอนาคตมากขึ้นอย่างแน่นอน

ภาพที่ 4-1 กราฟแสดงการเติบโตของประชากรโลก โดยแกนตั้งแสดงจํานวน
ประชากรมีหน่วยเป็นพันล้านคน
(Starr and Taggart. 1992 : 797)
ภาพที่ 4-2 แผนภูมิแสดงเหตุและผลอันเนื่องมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อม
(กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. 2540 : 17)

สาเหตุและผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม
มลพิษทางเสียง
มลพิษทางรังสี