4.1 ความหมายและผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
4.1.1. ความหมายของมลพิษ คําว่า “มลพิษ” เป็นศัพท์ที่ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติขึ้นในปี พ.ศ. 2525 ใช้แทนคําศัพท์เดิม ว่า “มลภาวะ” ซึ่งตรงกับศัพท.ภาษาอังกฤษว่า “Pollution” มาจากคําว่า “Pollute” หมายถึง ทําให้ สกปรก ซึ่งได้แก่ ขบวนการต่างๆ ที่มนุษย์กระทําทั้งโดยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ ปล่อยของเสียซึ่งไม่ พึงปรารถนาเข้าไปหมักหมมในบรรยากาศ พื้นดินและในน้ำ มีผลให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง โดยมีผู้ให้ความหมายคําว่า “มลพิษ” ไว้หลายท่านดังนี้ มลพิษของสิ่งแวดล้อม หมายถึงภาวะแวดล้อมที่มีความไม่สมดุลของทรัพยากรและมีสารพิษ ที่เป็นพิษจนมีผลต่อสุขภาพของมนุษย์ พืช และสัตว์ (เกษม จันทร์แก้ว, 2525 : 116) มลพิษของสิ่งแวดล้อม หมายถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่ไม่พึงประสงค์ อันเป็น ผลมาจากการกระทําของมนุษย็ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพ ชีวภาพ และความสมบูรณ็ของสิ่งมีชีวิต มีผลกระทบโดยตรงต่อมนุษย์ หรือผ่านมาทางน้ำ ผลิตผล จากพืชและสัตว์ (Andrews, 1972 : 4)
มลพิษ หมายถึงสภาวะแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพ แวดล้อมทางกายภาพ เคมี หรือชีวะในดิน หรืออากาศ อันจะยังผลให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตหรือ ทรัพย์สิน อีกทั้งสิ่งมีชีวิตที่มนุษย์พึงประสงค์ ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลโดยตรงหรือโดยอ้อม (อู่แก้ว ประกอบไวทยกิจ, 2531: 13)
มลพิษ หมายถึงภาวะของสภาพแวดล้อมที่มีองค์ประกอบไม่เหมาะต่อการนํามาใช้ประโยชน์ แต่กลับเป็นพิษหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือก่อความรําคาญแก่มนุษย์ เช่น อากาศมีก๊าซต่างๆ ที่ เป็นอันตรายต่อสุขภาพ สภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังรบกวนมาก ดินที่มีการสะสมของยาปราบศัตรูพืช และน้ำที่มีคราบน้ำมันหรือโลหะหนัก เป็นต้น (สมสุข มัจฉาชีพ, 25425 : 189)
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า “มลพิษสิ่งแวดล้อม” หรือ“มลพิษสิ่งแวดล้อม” หมายถึงภาวะสิ่งแวดล้อม ซึ่งปนเปื้อนด้วยมลสารหรือพลังงานที่มีผลทําให้สุขภาพทางกาย ใจ และสังคมเสื่อมลง ก่อให้เกิด ผลกระทบต่อมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม
1. สสารหรือสารที่มีอันตรายสูง คือ
1.1 มีผลกระทบทางชีววิทยาอย่างมีนัยสําคัญที่ความเข้มข้นต่ำ ซึ่งอาจเป็นผลในระยะ
สั้น (Short-term effect) หรือผลในระยะยาว (Long-term effect) ก็ได้
1.2 สามารถกระจายตัว (Dispersion) ได้ดีในอากาศ หรือละลายได้ในน้ำ
1.3 มีแนวโน้มที่จะสะสม (Accumulate) อยู่ในเนื้อเยื่อต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตได้ ซึ่งสาร เหล่านี้มักจะมีคุณสมบัติละลายได้ในไขมัน
1.4 มีคุณสมบัติคงตัว (Persistent) ในสิ่งแวดล้อมหรือสามารถแตกตัวหรือรวมตัวกับ สารอื่นๆ ทําให้ได้สารที่มีพิษ มีคุณสมบัติคงตัว สามารถแพร่กระจายไปถึงกลุ่ม เป้าหมาย (Targets) หรือสะสมในเนื้อเยื่อต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตได้
1.5 มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีผลกระทบโดย ตรงต่อมนุษย์หรือสมดุลของระบบนิเวศของโลก
คําว่า “มลสาร” หรือ “สารมลพิษ” มาจาก คําว่า “pollutant” หมายถึงสิ่งใดๆ ที่ประกอบด้วย อินทรียวัตถุ หรืออนินทรียวัตถุทั้งที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก็าซ ที่มนุษย์ได้ทํา ใช้บริโภค และ ทิ้งจาก อาคารบ้านเรือน ชุมชน โรงงาน การขนส่ง ฯลฯ เข้าสู่สภาพแวดลอมแหล่งต่าง ๆ แล้วก่อ ให้เกิดปัญหามลพิษ เช่น มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษทางดิน เป็นต้น สารมลพิษจะมี ลักษณะ ดังนี้
1. มีผลกระทบทางชีววิทยาอย่างมีนัยสําคัญที่ความเข้มข้นต่ำ
2. มีการกระจายตัวอย่างสม่ำาเสมอในอากาศ หรือละลายในน้ำได้ มีแนวโน้มที่จะสะสมอยู่ ในเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต หรือส่วนใหญ่ละลายได้ดีในไขมัน
3. มีคุณสมบัติคงตัวในสิ่งแวดล้อม
4. สามารถแตกตัวหรือรวมกับสารอื่น ทําให้เกิดสารที่มีพิษ มีคุณสมบัติคงตัว และ สามารถเข้าสู่ร่างกาย หรืออาจสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตได้
5. มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งมนุษย์ และสมดุลของระบบนิเวศโลก
6. เป็นผลจากการผลิตเป็นจํานวนมากขององค์ประกอบที่สําคัญของสังคม ผลเสียที่เกิดขึ้น กับสิ่งแวดล้อมถูกละเลยจากการประเมินค่าในแง่ของต้นทุนและผลประโยชน์
จากคําจํากัดความเบื้องต้น สารมลพิษจําแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. พวกที่ย่อยสลายตัวไม่ได้ด้วยวิธีการทางชีววิทยา (nondegradable หรือ nonbiodegradable pollutants)ได้แก่ โลหะ หรือสารวัตถุต่าง ๆ เช่น ปรอท ตะกั่ว สารหนู แคดเมียม ดีดีที เป็นต้น
2. พวกที่ย่อยสลายได้ด้วยวิธีการทางชีววิทยา (degradable หรือ biodegradable pollutants) ได่แก่ขยะมูลฝอย น้ำทิ้งจากโรงงาน บ้านเรือน ชุมชน ฯลฯ สารมลพิษแยกย่อยเฉพาะตามลักษณะของการเกิดภาวะมลพิษได้หลายแบบ เช่น สารมลพิษ ทางอากาศ สารมลพิษทางน้ำ สารมลพิษทางดิน สารมลพิษทางอาหาร สารมลพิษทางเสียง เป็นต้น

ความหมายและผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สาเหตุและผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
มลพิษทางอาหาร
มลพิษทางความร้อน
แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม
มลพิษทางเสียง
มลพิษทางรังสี