หน้าหลัก
ความหมายทรัพยากรธรรมชาติ
ประเภททรัพยากรธรรมชาติ
ความสำคัญและผลกระทบ
วิกฤตการทรัพยากรธรรมชาติในปัจจุบัน
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ
          - ทรัพยากรน้ำ
          - ทรัพยากรดิน
          - ทรัพยากรป่าไม้
          - ทรัพยากรสัตว์ป่า
          - ทรัพยากรแร่ธาตุ
          - ทรัพยากรพลังงาน
          - ทรัพยากรป่าชายเลน
          - ทรัพยากรปะการัง
แนวทางการอนุรักษ์
ความหมายและความสำคัญ
หลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
          - ทรัพยากรน้ำ
          - ทรัพยากรดิน
          - ทรัพยากรป่าไม้
          - ทรัพยากรสัตว์ป่า
          - ทรัพยากรแร่ธาตุ
          - ทรัพยากรพลังงาน
          - ทรัพยากรป่าชายเลน
          - ทรัพยากรปะการัง
     เนื่องจากโครงสร้างของภูมิประเทศเป็นเทือกเขาเป็นส่วนมาก ซึ่งประกอบ ไปด้วย หินแกรนิต หินปูน ดังนั้นจึงอุดมไปด้วยแร่ธาตุพอสมควร แร่ที่สำคัญได้แก่
          1. ดีบุก มักเกิดร่วมกับแร่ทังสเตน แหล่งแร่พวกนี้จะอยู่ในเขตหินแกรนิต แหล่งแร่ดีบุกที่สำคัญ คือ อำเภอทองภาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี และในเขตตะวันตกของ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันตกนับเป็นภาคที่มีการผลิตแร่ดีบุก มากเป็นอันดับที่สอง รองจาก ภาคใต้
          2. วุลแฟรม หรือ ทังสเตน มีแหล่งผลิตที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัด ตาก และที่เหมืองปิล็อก อำเภอทองผาภูมิ จังหวัด กาญจนบุรี ปัจจุบันที่อำเภอท่าสองยาง มีน้อยมาก          
           3. เหล็ก มีที่เขาอึม ครึม อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี

           4. ฟลูออไรด์ มีในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี และอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
           5. ตะกั่ว – สังกะสี มักพบอยู่ในบริเวณเดียวกัน แต่ตะกั่วมีแหล่งผลิตที่อำเภอศรีสวัสดิ์และ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัด กาญจนบุรี ส่วนแร่สังกะสีมีที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
           6. แร่รัตนชาติ มีแหล่งที่สำคัญในจังหวัดกาญจนบุรี โดยเฉพาะที่อำเภอ บ่อพลอย มีการขุดพลอย กันมาก เป็นแหล่งพลอยสีน้ำเงินและนิลที่ขึ้นชื่อของประเทศ
           7. หินน้ำมัน (oil shale) พบมากในอำเภอแม่สอด และอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ปัจจุบันยังไม่มีการผลิต

ความสำคัญของแร่ธาตุ
          1. ด้านความมั่นคงและมั่งคั่งของประเทศ ประเทศที่มีแร่ธาตุต่าง ๆ มากมายและสามารถนำไปใช้แปรรูปเป็นผลผลิตต่าง ๆ ที่ทำประโยชน์ต่อมนุษย์ เช่น ด้านอาวุธ ด้านอุตสาหกรรม
          2. ด้านความเป็นอยู่ของมนุษย์ ได้มีการนำแร่ธาตุต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์และสร้างขึ้นเป็นสิ่งต่าง ๆ เช่น ภาชนะใช้สอย พาหนะที่ช่วยในการคมนาคม อาคารบ้านเรือน ก๊าซหุงต้ม พลังงานไฟฟ้า
          3. ด้านการสร้างงานแก่ประชาชน ทำให้ประชาชนมีรายได้จากการขุดแร่ ไปจนถึงแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ไปสู่ผู้บริโภค
          นอกจากนี้แร่ธาตุชนิดต่าง ๆ มีคุณสมบัติต่างกัน จึงมีประโยชน์แตกต่างกัน เช่น แร่วุลแฟรม นำมาทำไส้หลอดไฟฟ้า ใช้ในอุตสาหรกรรมเครื่องแก้ว แร่พลวงนำมาใช้ทำตัวพิมพ์หนังสือ ทำสี แบตเตอรี รัตนชาติ เป็นแร่ที่มีสีสันสวยงาม นำมาใช้ทำเครื่องประดับต่าง ๆ มากมาย



















         
     

ประโยชน์แร่
     1. ประโยชน์ทางด้านความมั่นคง และมั่งคั่งของประเทศ ประเทศที่มีแร่ธาตุต่าง ๆ มากมายและสามารถนำไปใช้แปรรูปเป็นผลผลิตต่าง ๆ ที่ทำประโยชน์ต่อมนุษย์ เช่น ด้านอาวุธ ด้านอุตสาหกรรม
     2. ประโยชน์ด้านความเป็นอยู่ของมนุษย์นำแร่ธาตุต่าง ๆ มาสร้างขึ้นเป็นภาชนะใช้สอยพาหนะที่ช่วยในการคมนาคม อาคารบ้านเรือน ก๊าซหุงต้ม พลังงานไฟฟ้า
     3. ประโยชน์ด้านการสร้างงานแก่ประชาชน ทำให้ประชาชนมีรายได้จากการขุดแร่ ไปจนถึงแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ไปสู่ผู้บริโภค
          
นอกจากนี้ แร่ธาตุชนิดต่าง ๆ มีคุณสมบัติลักษณะต่างกัน จึงมีประโยชน์แตกต่างกัน เช่น แร่วุลแฟรม นำมาทำไส้หลอดไฟฟ้า ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องแก้ว แร่พลวงนำมาใช้ทำตัวพิมพ์หนังสือ ทำสี แบตเตอรี่ รัตนชาติ เป็นแร่ที่มีลักษณะสีสันสวยงาม นำมาใช้ทำเครื่องประดับต่าง ๆ มากมาย

สาเหตุและผลกระทบปัญหาทรัพยากรแร่
          1. ปัญหาสิ่งแวดล้อมบริเวณที่ทำเหมืองแร่แล้วทำให้สภาพดินไม่อุดมสมบูรณ์ สกปรกพื้นที่ขรุขระมีหลุมบ่อมากมายจึงถูกปล่อยทิ้งให้ประโยชน์ไม่เต็มที่
          2. ปัญหาการใช้แร่ธาตุบางประเภทเป็นจำนวนมาก เช่น แร่เหล็กถูกนำมาใช้มาก และแพร่หลายที่สุด ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม ดีบุก ฯลฯ
          3. ปัญหาการใช้แร่ไม่คุ้มค่า ได้แก่ พวกแร่ที่ใช้แล้วยังเหลืออยู่ ยังสามารถนำกลับไปใช้อีก เช่น เหล็ก ส่วนแร่ที่นำไปใช้แล้วหมดไป เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ เราจึงต้องใช้อย่างคุ้มค่าและประหยัด