มทร.อีสาน เป็น 1 ใน 15 ที่ได้รับรางวัล สถาบันการศึกษาที่มีความพร้อมในการให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตพื้นฐานที่รองรับ IPv6

Download PDF

ตามที่ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบต่อแผนปฏิบัติการเพื่อผลักดัน ส่งเสริม เร่งรัด และติดตามผลการดำเนินงาน IPv6 ในประเทศไทย (พ.ศ. 2556-2558) ซึ่งกำหนดให้แผนปฏิบัติการดังกล่าวเป็นวาระแห่งชาติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ โดยได้กำหนดแผนกิจกรรม IPv6 ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (https://www.facebook.com/IPv6Thailand)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เป็นสถาบันการศึกษาหนึ่งที่เชื่อมต่อการสื่อสารกับอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) ซึ่งบริหารจัดการโดยสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา และมีหน้าที่ในการให้ส่งเสริมและบริการเชื่อมต่อ IPv6 กับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา

UniNet ได้ร่วมกับกลุ่มวิจัยพัฒนาเครือข่ายด้าน Future Internet ในการส่งเสริมการให้บริการเครือข่ายที่รองรับ IPv6  ทั้งสองส่วนงานได้ประกาศเชิญชวนให้มหาวิทยาลัยร่วมพัฒนาศักยภาพการให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตพื้นฐานที่รองรับ IPv6 อย่างน้อย 3 ระบบ ได้แก่ ระบบ DNS Mail และ Web และจะมอบรางวัลแก่มหาวิทยาลัยที่ได้ดำเนินการตามที่กำหนด ใน งานประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ครั้งที่ 31 (31st WUNCA) ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา ระหว่างวันที่ 22 กรกฎาคม 2558

เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2558 UniNet ได้ประกาศรายชื่อมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมในการให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตพื้นฐานที่รองรับ IPv6 ครบ 3 ระบบ ได้แก่ ระบบ DNS Mail และ Web ประกอบด้วย

IPv6 Ready Pioneer Award จำนวน 5 แห่ง ดังนี้

  1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  2. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  3. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  5. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

IPv6 Ready Rookie Award จำนวน 10 แห่ง ดังนี้

  1. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  2. มหาวิทยาลัยทักษิณ
  3. มหาวิทยาลัยบูรพา
  4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  6. มหาวิทยาลัยมหิดล
  7. มหาวิทยาลัยราชภัฏก าแพงเพชร
  8. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  10. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

นอกจากการพัฒนาใช้ IPv6 กับส่วนของบริการ หรือแม่ข่ายบริการพื้นฐาน ตามที่ใช้ตัดสินในการให้รางวัลแล้ว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานได้นำ IPv6 ไปติดตั้งใช้งานในระดับผู้ใช้ หรือผู้ใช้สามารถมีและใช้ IPv6 ได้ ประกอบด้วย เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย (RMUTI-WiFi) และบางส่วนของเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบสาย

การนำ IPv6 ไปติดตั้งให้ผู้ใช้สามารถมีและใช้ได้นั้น ปัจจุบันได้ดำเนินการในนครราชสีมา ปัจจุบัน ผู้ดูแลระบบกำลังขอความอนุเคราะห์ไปยัง UniNet เพื่อสร้างเส้นทางเพิ่มเติมเพื่อกระจายการติดตั้ง IPv6 ไปยังทุกวิทยาเขต คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2558 นี้

This entry was posted in บริการด้านเครือข่ายและอินเทอร์เน็ต and tagged , . Bookmark the permalink.